About me

รูปภาพของฉัน
ชื่อนายอัสมี เจ๊ะแต เป็นคนจังหวัดปัตตานี คติประจำใจ "เรียนไม่จบ แต่ทำงานให้เก่ง"

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

วินโดวส์รุ่นต่างๆ

คำว่า วินโดวส์ มีความหมายที่หลากหลายซึ่งสามารถยกมาพอสังเขปได้ดังนี้

  • สภาวะการทำงานแบบ 16 บิต วินโดวส์ 1.0 (พ.ศ. 2528) และวินโดวส์ 2.0 (พ.ศ. 2530) ยังเป็นสภาวะในการทำงาน (Operating Environments) หรือส่วนติดต่อผู้ใช้ อยู่บนอีกชั้นหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้คือดอส)

ต่อมามี วินโดวส์ 3.0 (พ.ศ. 2533) และวินโดวส์ 3.1 (พ.ศ. 2535) รวมถึงวินโดวส์ 3.11 ที่เพิ่มความสามารถในการทำงานบนระบบเครือข่าย (Workgroup)

  • ระบบปฏิบัติการ 16/32 บิต หลังจากวินโดวส์ 3.11 เพิ่มความสามารถด้านระบบไฟล์แบบ 32 บิตแล้ว วินโดวส์ก็มีความสามารถเพียงพอที่จะเป็นระบบปฏิบัติการ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาดอสอีกต่อไป วินโดวส์ 95 (พ.ศ. 2538) เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรก โดยรวมเอาดอสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ด้วย วินโดวส์ 98 (จำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ภายหลังได้ปรับปรุงและใช้ชื่อว่า วินโดวส์ 98 Second Edition หรือ วินโดวส์ 98SE ในปี พ.ศ. 2542 วินโดวส์ตัวสุดท้ายที่เป็นระบบปฏิบัติการกึ่ง 16 และ 32 บิต คือ วินโดวส์ Me (พ.ศ. 2543) ซึ่งอ้างอิงรากฐานตัวระบบมาจากวินโดวส์ 98 แต่ใช้หน้าตาส่วนติดต่อผู้ใช้ของวินโดวส์ 2000
  • ระบบปฏิบัติการ 32 บิต เดิมได้รับการออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพ โดยพัฒนามาใหม่หมดไม่ได้ใช้ดอสเป็นรากฐาน รุ่นแรกที่ออกคือ วินโดวส์เอ็นที 3.1 (ใช้เลขรุ่นเทียบกับวินโดวส์ 3.1 คำว่า NT ย่อมาจากคำว่า New Technology) ตามมาด้วย วินโดวส์เอ็นที 3.5 (พ.ศ. 2537) , วินโดวส์เอ็นที 3.51 (ค.ศ. 1995) และ วินโดวส์เอ็นที 4.0 (พ.ศ. 2539) หลังจากวินโดวส์ 95 วางตลาด ไมโครซอฟท์พยายามนำเอาเทคโนโลยี 32 บิตมาในวินโดวส์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน วินโดวส์ 2000 เป็นรุ่นถัดมาของวินโดวส์เอ็นทีสำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่วินโดวส์รุ่นสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน (รหัสว่า Windows Neptune) ล้มเหลวและยกเลิกการพัฒนาไป และใช้วินโดวส์ Me ทำตลาดแทน ในภายหลังโครงการ Neptune ถูกรวมกับโครงการ Whistler และกลายมาเป็นวินโดวส์เอกซ์พี (พ.ศ. 2544) รุ่นถัดมาของวินโดวส์ 2000 คือวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 นอกจากนี้ยังมีวินโดวส์ซีอีสำหรับอุปกรณ์พกพา และ Vista ซึ่งเป็นรหัสของวินโดวส์รุ่นถัดไป
  • ระบบปฏิบัติการ 64 บิต สำหรับซีพียูแบบ 64 บิต ของบริษัทเอเอ็มดี ในชื่อ X86-64[1] และอินเทล ในชื่อ EM64T คือ วินโดวส์เอกซ์พี x64 Edition และวินโดวส์ 2003 x64 Edition ซึ่งปัจจุบันใกล้จะวางจำหน่าย สำหรับ Vista ซึ่งเป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุดจะมีทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิต

วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน

  • วินโดวส์โมเบิล (Windows Mobile) วินโดวส์ซีอี (Windows CE) ใช้สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว และอุปกรณ์พกพา
    • พ็อคเกตพีซี (Pocket PC) สำหรับ PDA
    • พ็อคเก็ตพีซีรุ่นสำหรับโทรศัพท์ (Pocket PC Phone Edition) สำหรับลูกผสมของ PDA และโทรศัพท์
    • สมาร์ทโฟน สำหรับโทรศัพท์
    • Portable Media Center สำหรับ Digital Media Players
  • วินโดวส์เอกซ์พี สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุค
    • Windows XP Starter Edition สำหรับคอมพิวเตอร์วางขายใหม่ ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย)
    • Windows XP Home Edition สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
    • Windows XP Home Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
    • Windows XP Professional Edition สำหรับธุรกิจและผู้ใช้ระดับสูง
    • Windows XP Professional Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
    • Windows XP Tablet PC Edition สำหรับโน้ตบุ้คที่มีจอแบบสัมผัส
    • Windows XP Media Center Edition สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ้คที่เน้นไปทางบันเทิงโดยเฉพาะ
  • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 สำหรับเซิร์ฟเวอร์
    • Small Business Server สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (สนับสนุน 2 ซีพียู)
    • Web Edition สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป (สนับสนุน 2 ซีพียู)
    • Standard Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำคลัสเตอร์ (สนับสนุน 4 ซีพียู)
    • Enterprise Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์ (สนับสนุน 8 ซีพียู)
    • Datacenter Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์เทียบเท่าเมนเฟรม (สนับสนุน 128 ซีพียู)
    • Storage Server สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย
  • Windows XP Embedded สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
  • วินโดวส์ วิสตา (Windows Vista) หรือชื่อเก่าคือ วินโดวส์ ลองฮอร์น
    • Windows Vista Ultimate[2] เป็นเวอร์ชันที่รวบรวมทุกความสามารถไว้ในตัวเดียว
    • Windows Vista Home Premium[3] ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
    • Windows Vista Home Basic[4]ออกแบบให้มีฟังก์ชันพื้นฐานและไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น
    • Windows Vista Business[5]ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ
    • Windows Vista Enterprise[6]ออกแบบมาสำหรับลดขั้นตอนการดูแล และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง

วินโดวส์รุ่นก่อนๆ

  • ใช้ฐานจากดอส
    • พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - พฤศจิกายน - วินโดวส์ 1.0
    • พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - 9 ธันวาคม - วินโดวส์ 2.0
    • พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - 22 พฤษภาคม - วินโดวส์ 3.0
    • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - สิงหาคม - วินโดวส์ 3.1
    • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ตุลาคม - วินโดวส์ for Workgroups 3.1
    • พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - พฤศจิกายน - วินโดวส์ for Workgroups 3.11
    • พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - 24 สิงหาคม - วินโดวส์ 95 (เลขรุ่น: 4.00.950)
    • พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - 25 มิถุนายน - วินโดวส์ 98 (เลขรุ่น: 4.1.1998)
    • พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - 5 พฤษภาคม - วินโดวส์ 98 Second Edition (เลขรุ่น: 4.1.2222)
    • พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - 19 มิถุนายน - วินโดวส์ Me (เลขรุ่น; 4.9.3000)
  • ใช้เคอร์เนลเอ็นที
    • พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - สิงหาคม - วินโดวส์เอ็นที 3.1
    • พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - กันยายน - วินโดวส์เอ็นที 3.5
    • พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - มิถุนายน - วินโดวส์เอ็นที 3.51
    • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - 29 กรกฎาคม - วินโดวส์ เอ็นที 4.0 - รุ่นสุดท้ายที่ทำงานบนสถาปัตยกรรม RISC เช่น DEC Alpha, MIPS และ PowerPC รุ่นหลังจากนี้จะเน้นสถาปัตยกรรม x86 เพียงอย่างเดียว
    • พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - 17 กุมภาพันธ์ - วินโดวส์ 2000 (เลขรุ่น: NT 5.0.2195)

วินโดวส์ที่ถูกยกเลิก

  • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - Windows 96 (โค้ดเนม Nashville) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 95
  • พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - Windows Neptune ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 2000

วินโดวส์ในอนาคต

กำหนดการวางจำหน่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้

  • พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) - พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) - Windows 7 โค้ดเนม วินโดวส์ "เวียนนา"

ไม่มีความคิดเห็น: